วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติชาวบ้านบางระจัน

ประวัติชาวบ้านบางระจัน 


ประวัติชาวบ้านบางระจัน



ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ไว้ในสาสน์สมเด็จ ว่า

".เมือง สิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียร แบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่างๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้......" ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย ดังนี้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี
บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหินและดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด เป็นต้น

สมัยทวาราวดี

พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้ง
ถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ
โบราณ วัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตอินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติ และที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี

เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน

มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอย
กำแพง เมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด และดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯแหล่งโบราณคดีบ้านคีม ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาด กว้าง 5 เมตร

สมัยสุโขทัย

มี การค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและลำน้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้น ได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

สมัยกรุงศรีอยุธยา

ปราก ฎเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระมหารามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วเมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองชั้นในหน้าด่าน รายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ แต่ไม่ปรากฎแน่ชัดว่า เมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้จัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นเมืองจัตวา

 ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรี จึงเปลี่ยนเป็นเมืองจัตวา ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็น เมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไป สืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกัน ก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฎในพระราช พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมับสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2110 หลังจากสมเด็จพระ-นเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง

ครั้งนี้พม่ายกกองทัพ มาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมีพระยาพสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพสิมถูกกองทัพ กรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้า เชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้ามาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ. 2308 สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกัน

ต่อสู้กับพม่า ที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้านและปรากฎชื่อ คือ

1. พระอาจารย์ธรรมโชติ
2. นายแท่น
3. นายโชติ
4. นายอิน 5. นายเมือง
6. นายทองแก้ว
7. นายดอก
8. นายจันหนวดเขี้ยว
9. นายทองแสงใหญ่
10. นายทองเหม็น
11. ขุนสรรค์
12. พันเรือง โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่า และสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309

สมัยกรุงธนบุรี

เมือง อินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออก และคุมพรรคพวกซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครเมืองธนบุรี

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

มี หลักฐานที่ปรากฎคือ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (รัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรี

และเมืองพรหมบุรี เป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็นอำเภอสิงห์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนเป็นอำเภอบางพุทรา และในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อ ของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้



อนุสรณ์ สถานชาวบ้านบางระจัน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ กองทัพพม่าได้ออกลาดตะเวนปล้นสะดม ข่มแห่งชาวไทย ฉุดคร่าอนาจาร เผาบ้านเรือนทำให้ชาวเมืองสิงห์บุรีโกรธแค้น ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกต่อสู้กับทหารพม่าจนเกิดเป็นค่ายบางระจันขึ้น มีนายแท่น นายเมือง นายโชติ นายอิน นายดอก นายแก้ว ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ เป็นหัวหน้าค่ายบางระจัน พวกชาวบ้านบางระจันได้สู้รบกับพม่าถึงแปดครั้ง ครั้งสุดท้ายพม่าใช้ปืนใหญ่ยิงถล่ม ชาวบางระจันได้ขอปืนใหญ่ไปทางกรุงศรีอยุธยา แต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่ให้ ชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจกันหล่อปืนใหญ่ใช้เอง แต่ด้วยความไม่ชำนาญ ปืนใหญ่จึงร้าวและใช้การไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านเสียขวัญและกำลังใจ ทว่าชาวบ้านบางระจันก็ยังคงต่อสู้กับพม่าอย่างไม่คิดชีวิต ในที่สุดค่ายบางระจันก็ถูกทำลายลงเมื่อวันจันทร์เดือน 8 แรม 2 ค่ำ พ.ศ.2309 รวมเวลาที่รบกับพม่านานถึงห้าเดือน แม้ค่ายบางระจันจะถูกกองทัพพม่าทำลายอย่างย่อยยับ แต่ภาพของบรรดาผู้กล้าไม่ว่าจะเป็นพระยารัตนาธิเบศร์ ขุนสรรค์พันเรือง ฯลฯ รวมทั้งชาวบ้านทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ ล้วนสู้ตาย ไม่ยอมถอยเพื่อรักษาบ้านเมืองของตน เป็นวีรกรรมของชุมชนที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย



















อ้างอิง
 http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=1017.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น